วันอังคาร, เมษายน 23, 2567

นายกฯ โย่งยังทำพะนำอ้ำอึ้งเรื่องปรับ ครม.อยู่อีก ทั้งพรรคร่วมพรรคเราออกมาค้านโน่นขอนี่กันขรม

อุ้ย นายกฯ โย่งยังทำพะนำอ้ำอึ้งเรื่องปรับ ครม.อยู่อีก ทั้งที่ไม่ว่าพรรคร่วมพรรคเราออกมาค้านโน่นขอนี่กันขรม จะเน้นแต่แก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีที่แบ๊งค์ชาติไม่เห็นด้วย แล้วหันไปกดดันสี่แบ๊งค์ใหญ่ออกสื่อ ผลก็อาจจะเซมเซมดังเคยเป็นละหนา

โถ ทำโน่นทำนี่สารพัดแล้วไม่ได้อย่างใจสักอย่าง มันก็เลยได้แต่แถลงผลงานว่าได้ลองทำแล้วนะ ผลอย่างไรยังไม่รู้ มีเวลาถมเถอีกกว่าสามปี เช่นที่ “เรียกร้องให้ ธนาคารยักษ์ใหญ่ ๔ แห่งของประเทศ...ลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก”

ทำไมไม่สามารถบอกได้เลยละว่าสี่แบ๊งค์เหล่านั้นเขาว่าอย่างไร เล่นด้วยหรือไม่เล่นให้รู้แล้วรู้รอดไป ทีเรื่องปรับ ครม.ไหนจะเจอ ธรรมนัส (พรหมเผ่า) ทะลุกลางปล้อง ส่งรายชื่อไปแล้วนะ ต้องให้ ไผ่ ลิกค์ ก่อนอื่น นอกนั้นมีสำรองอีกสาม

แล้วยัง วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนฯ (อดีต) หัวหน้าพรรคประชาชาติ บอกตำแหน่งประธานฯ ของเราใครอย่าแตะ วันนี้ประกาศศักดา ตั้งเป้าเลือกตั้งครั้งหน้ากวาด ๑๕ ส.ส. โควต้ารัฐมนตรี ๓ คน เพราะเดี๋ยวนี้เป็นพรรคขนาดกลางแล้ว

ฟังนะ วันนี้ “ประชาชาติเติบโตขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น” วันนอร์ว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า “พรรคจะต้องได้ ๑,๐๐๐,๐๐๐ เสียง หรือให้ได้ สส.บัญชีรายชื่อ ประมาณ ๓-๔ ที่นั่ง ไม่เท่านั้นทั่นประธานฯ ยังคุยว่าที่ปัตตานี จะกวาด ส.ส.เรียบ ๕ คนด้วย

แล้วก็ ปู่วันนอร์โชว์วิสัยทัศน์ทันสมัย กล่าวในการประชุมใหญ่ของพรรคว่าการเมืองเดี๋ยวนี้ ต้องยึดถือ เทคโนโลยี่ เป็นสรณะ พูดเก่งไม่พอ ต้องประชาสัมพันธออนไลน์เจ๋งด้วย “ถึงเวลาแล้วที่พรรคประชาชาติจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีอย่างจริงจัง”

ขออย่างเดียว สมรสเท่าเทียม ยังไม่เอานะ แล้วพรรคเราบ้างล่ะ มีเสียงกันไหม มีหรือจะรอด ส.ส.อุดรฯ ธีระชัย แสนแก้ว ไม่ยอมนิ่ง หลังจากที่มีเสียงลือว่า รมว.กลาโหมคนอีสานด้วยกันจะถูกส่งกลับไปเป็นดาวสภา เอาทหารมาเป็น รมช.ประสานกองทัพ

ช่วยงานนายกฯ ซึ่งจะย้ายที่ควบจากคลังมากลาโหม แต่ธีระชัยประกาศ อย่างนี้ไม่สบายใจอยู่นะ เปลี่ยนได้ขอให้เปลี่ยน ข้อสำคัญคนเสื้อแดงจะไม่แฮ้ปปี้แน่ ในเมื่อ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ ว่าที่ รมช.คนนี้ “เกี่ยวข้องกับการปราบคนเสื้อแดง”

จะทำให้เกิด “คลื่นใต้น้ำ จนอาจกระทบต่อการบริหารรัฐบาล...หากเป็นทหารคนอื่น คนเสื้อแดงน่ารู้สึกดีจะพอรับได้มากกว่า”

(https://www.innnews.co.th/news/politics/news_707051/, https://www.isranews.org/article/south-news/special-talk/128002-pccwannor.html และ https://www.voicetv.co.th/read/luikxPmur#google_vignette)

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เล่าถึงความพยายาม “จัดตั้ง” ในกระบวนการเลือก สว. - เป๋า ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ จาก iLaw บอก "หากประชาชนไม่สู้ก็อยู่แบบเดิม"

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แถลงเปิดแคมเปญ "สว. ประชาชน" เมื่อ 22 เม.ย.

สว. ประชาชน VS เสียงจัดตั้ง ที่ดังเข้าหู ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
22 เมษายน 2024

ประธานคณะก้าวหน้าเปิดเผยข้อมูลเรื่องความพยายาม “จัดตั้ง” ในการเลือก สว. ชุดใหม่ โดยให้เงิน 17,500 บาท/คน ซึ่งเขาออกตัวว่า “ไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ เป็นคำบอกเล่าจากประชาชน”

คณะก้าวหน้าภายใต้การนำของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เปิดแคมเปญ “สว. ประชาชน” รณรงค์ให้ประชาชนผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย ไปลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

ธนาธร คาดหวังให้มี “สว. ประชาชน” อย่างน้อย 70 คน จากทั้งหมด 200 คน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของวุฒิสภา และเป็นจำนวนที่มีนัยสำคัญต่อการชี้ขาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 จะสำเร็จหรือไม่

อย่างไรก็ตามประธานคณะก้าวหน้าไม่ได้ระบุว่า ต้องมีผู้สมัคร สว. จำนวนเท่าใด ถึงจะทำให้เป้าหมายนำ “สว. ประชาชน” เข้าสภา 70 คนบรรลุผล

“ไม่มีใครสามารถวัดมันเป็นปริมาณได้ว่าต้องการจำนวนเท่าไร ไม่รู้ เพราะภายใต้กติกาแบบนี้ เราไม่สามารถคำนวณกลับไปยังต้นทางว่าต้องมีจำนวนผู้สมัครเท่าไร” ธนาธร ตอบคำถามบีบีซีไทยในระหว่างการแถลงข่าววันนี้ (22 เม.ย.) โดยหลีกเลี่ยงการพูดถึงตัวเลข

แม้ก่อนหน้านี้ เขาเคยให้สัมภาษณ์ในรายการ “คุยนอกจอ” กับ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ว่า ต้องการยอดผู้สมัครอย่างน้อย 1 แสนคน แต่วันนี้เขาบอกเพียงว่าหากทำได้ 1 แสนคน ก็จะได้เสียงส่วนใหญ่ของ สว. เลย

ข้อมูลจากเว็บไซต์ senate67.com จัดทำโดยเครือข่ายภาคประชาชน 17 กลุ่ม เพื่อเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการเลือก สว. ชุดใหม่ ทั้งเปิดให้ตรวจสอบคุณสมบัติ, แสดงตัวเป็นผู้สมัคร และค้นหาผู้สมัคร ล่าสุด ณ 22 เม.ย. มีผู้แสดงตัวลงสมัครแล้ว 1,141 คน

อย่างไรก็ตาม ธนาธร เชื่อว่า ตัวเลขจริงจะมากกว่านี้ เนื่องจากคนที่ลงสมัคร สว. มี 3 ประเภทคือ คนที่สมัครเพราะต้องการเป็น สว. จริง ๆ, คนที่สมัครแบบเป็นก็ได้-ไม่เป็นก็ได้ และคนที่สมัครเพราะต้องการเข้าไปโหวต ซึ่งคน 2 กลุ่มหลังอาจไม่จำเป็นต้องเข้าไปแสดงตัวในเว็บไซต์


คณะก้าวหน้าช่วงหลังสงกรานต๋

สำหรับ สว. ชุดใหม่จะมาจากการ “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม และ “เลือกไขว้กลุ่ม” โดยผู้สมัครต้องผ่านการเลือก 3 ระดับ จากอำเภอ ขึ้นสู่จังหวัด และประเทศ จนเหลือ 200 คนเพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในวุฒิสภาแทน สว. ชุดเฉพาะกาล 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และกำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 11 พ.ค. นี้

ระบบเลือก สว. ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 นี้ คิดค้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มี มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน โดยนำมาใช้เป็นครั้งแรกในโลก

นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ภาคประชาชน นักการเมืองฝ่ายค้าน รวมถึงแกนนำคณะก้าวหน้าวิจารณ์ว่า ระบบเลือก สว. นี้ออกแบบมาเพื่อ “กีดกันประชาชนไม่ให้มีส่วนร่วม” ด้วยการกำหนดให้ผู้สมัครต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไป และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสมัคร 2,500 บาท ถึงจะมีสิทธิโหวตและมีสิทธิได้รับโหวต

ก้าวสำคัญในการออกจาก “ระบอบประยุทธ์”

ธนาธร เริ่มต้นการแถลงข่าว ด้วยการย้อนผลโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีร่างรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวที่มีเนื้อหาเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง สส. ได้รับเสียงโหวตจาก สว. 149 คน จนประกาศใช้ได้ ส่วนที่เหลือถูกตีตกทั้งหมด

“แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้เป็นนายกฯ แล้ว แต่ระบอบประยุทธ์ยังอยู่กับเราในรูปแบบรัฐธรรมนูญ 2560 คุณประยุทธ์ไม่อยู่แล้ว แต่ตัวระเบียบที่ก่อร่างสร้างตัวคณะรัฐประหารยังอยู่กับเรา” ประธานคณะก้าวหน้าระบุ

เขาจึงส่งเสียงเรียกร้องไปยัง “ประชาชนที่รักประชาธิปไตย” ให้เข้ามามีบทบาทในการร่วมฟื้นฟูประชาธิปไตยของประเทศผ่านการลงสมัคร สว. เพราะหากปล่อยให้การเลือก สว. มาจากกลุ่มคนจำนวนน้อยเหมือนการเลือก สว. ชุดที่ผ่านมา โอกาสที่ สว. ชุดใหม่จะเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแทบเป็นไปไม่ได้เลย


แผ่นพับสรุปสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเลือก สว. ที่คณะก้าวหน้านำไปแจกจ่ายให้ประชาชน จัดทำโดยไอลอว์และเครือข่าย

ธนาธร ยังไล่เลียงการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระอย่างน้อย 3 องค์กร ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และศาลรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการรับรองและแต่งตั้งโดย สว. ชุดปัจจุบัน ซึ่งองค์กรอิสระเหล่านี้ถูกวิจารณ์ว่าทำหน้าที่ “สองมาตรฐาน”

ก่อนเสนอว่า การทำให้ประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตย การเมืองไทยกลับสู่ภาวะปกติ ประชาชนมีความสมานฉันท์ ต้องเริ่มต้นจากความเป็นธรรมและต้องไม่สองมาตรฐาน และชี้ว่าสิ่งเหล่านี้เริ่มได้ที่การเลือก สว. หากมี สว. ประชาชนที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยเข้าไปดำรงตำแหน่งมากพอ ก็จะช่วยถอดสลักและแก้ปมที่พันกันได้

สำหรับคำจำกัดความของ “สว. ประชาชน” ของคณะก้าวหน้าคือ คนธรรมดาที่ “ฝักใฝ่ประชาธิปไตย” และลงสมัคร สว. โดยไม่รับเงินทองและอามิสสินจ้าง

แม้ตระหนักดีว่านี่เป็นการเรียกร้องขั้นสูงต่อประชาชน เพราะต้องเสียทั้งเงินค่าสมัครและเสียเวลา แต่ภายใต้กฎการเลือกตั้ง สว. แบบนี้ ธนาธร เห็นว่า คนเก่ง ดี เด่น ดังในอาชีพจริง ๆ จะดำรงตำแหน่งไม่ได้เลยหากไม่มีพรรคพวก

“คนเหล่านี้จะไปดำรงตำแหน่งได้ต้องอาศัยแรงจากทุกคน เราต้องคว้าโอกาสนี้ไว้ หากไม่สามารถผลักดันคนเหล่านี้เข้าไปในสภาได้ การออกจากระบอบประยุทธ์ต้องรอไปอีก 5 ปี นี่ถือเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปมระบอบประยุทธ์ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560” ประธานคณะก้าวหน้ากล่าว

คำบอกเล่าเรื่อง “เสียงจัดตั้ง” ที่ดังเข้าหู ธนาธร

การแถลงเปิดแคมเปญ “สว. ประชาชน” ของประธานคณะก้าวหน้าเกิดขึ้นก่อนมีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้มีการเลือก สว. ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการกำหนดข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ ของผู้สมัครและบรรดาผู้สนับสนุน

ภายหลังเทศกาลสงกรานต์ แกนนำคณะก้าวหน้าเริ่มเดินสายรณรงค์ให้ประชาชนลงสมัคร สว. อย่างน้อย 7 จังหวัด ประกอบด้วย จ.กระบี่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต สงขลา และ กทม. ส่วนในสัปดาห์หน้า พวกเขาจะลงพื้นที่อีสานเหนือและภาคเหนือต่อไป

ในระหว่างการลงพื้นที่ ประธานคณะก้าวหน้าอ้างว่า ได้รับข้อมูลจากประชาชนเรื่องการ “จัดตั้ง” และ “ใช้เงินสร้างกลุ่ม สว. ขึ้นมา”

“ตอนนี้ราคาอยู่ที่ 2,500 บาท เป็นค่าสมัคร และจ่ายค่าเหนื่อยให้อีก 15,000 บาท ถ้าไปซื้อระดับจังหวัดก็เป็นหลักแสนแล้วตอนนี้ ผมไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ เป็นคำบอกเล่าจากประชาชน” ธนาธร เล่าต่อถึงเสียงที่ดังเข้าหูของเขา

เวลาแกนนำคณะก้าวหน้าเรียกร้องให้มีผู้สมัคร สว. ที่เป็น “เสียงอิสระ” เข้าไปต่อสู้กับ “เสียงจัดตั้ง” พวกเขาคิดถึงหน้าใคร/กลุ่มไหนเมื่อพูดถึงเสียงจัดตั้ง บีบีซีไทยถาม

ธนาธร บอกเพียงว่า มีการพูดถึงพรรคการเมืองบ้าง กลุ่มต่าง ๆ บ้าง แต่โยนให้สื่อมวลชนเป็นผู้หาคำตอบ-ไปทำข่าวเจาะลึก เพราะเชื่อว่าประชาชนจะสนใจ

ปธ.กกต. ชี้การรณรงค์ของคณะก้าวหน้า “ไม่ถึงขั้นสุ่มเสี่ยง”

ความเคลื่อนไหวของ ธนาธรกับพวก ในการกระโดดเข้าร่วมการรณรงค์ในสนามเลือก สว. 2567 ทำให้เกิดแรงต้านจากคนใน “ขั้วอำนาจเดิม” บางส่วน

สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบคณะบุคคล/ตัวแทนพรรคการเมือง ที่มีกระบวนการรณรงค์ให้ประชาชนสมัคร สว. โดยระบุว่า “เข้าข่ายฮั้วในกระบวนการเลือกกันเองของ สว.” เนื่องจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 และพระราชบัญญัติ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ. 2561 ต้องสมัครเพื่อเป็น สว. ไม่ใช่สมัครเพื่อเป็นโหวตเตอร์

สมชาย แสวงการ ผู้เรียกร้องให้ กกต. ตรวจสอบแคมเปญของคณะก้าวหน้า

ปฏิกิริยาจาก ธนาธร ต่อท่าทีของ สว.สมชาย คือ เอาว่ามาร่วมกันสมัครให้เยอะที่สุด ส่วนเขาจะโหวตใคร เป็นเรื่องของเขา ยิ่งเยอะยิ่งดี และเชิญชวนให้ไปสมัครให้เยอะกลุ่มอาชีพ เพื่อคนที่จัดตั้งกันมาจะได้ไม่สามารถส่งคนของตัวเองลงสู่กระบวนการได้

“ถ้าไม่มีเสียงอิสระเข้าไปเลย ใครจัดตั้งมา จะเข้าหมดเลย เพราะไม่มีการแข่งขัน” ธนาธร กล่าว

ก่อนหน้านี้ อิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. ให้ความเห็นว่า การรณรงค์ของคณะก้าวหน้า “ไม่คิดว่าถึงขั้นสุ่มเสี่ยง” เพราะการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่สนใจไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ กกต. เองก็ได้รณรงค์มาโดยตลอด

“หากมีการสมัครเยอะ การแข่งขันก็จะยิ่งเยอะ และทำให้การแข่งขันมีคุณค่า ซึ่งเห็นว่าการเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครเป็นสิ่งที่น่าจะสนับสนุนด้วยซ้ำไป” ประธาน กกต. ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเมื่อ 19 เม.ย.

อย่างไรก็ตามประธาน กกต. เตือนว่าการทำอะไรก็ตามอย่าฝ่าฝืนกฎหมาย และแนะนำให้มาคุยกับ กกต. ก่อนหากมีข้อสงสัยอะไร

พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. พ.ศ. 2561 ห้ามผู้สมัคร สว. เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ห้ามเป็นสมาชิกพรรค, ผู้บริหารพรรค, สส., รวมถึงเป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ สส. สว. ข้าราชการการเมือง พร้อมกำหนดโทษไว้ ดังนี้
  • หากผู้สมัครยินยอมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง/พรรคการเมือง ช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับการเลือกเป็น สว. จะมีความผิดตามมาตรา 76 ต้องโทษระวางจำคุก 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  • หากมีการ “รับจ้าง” เพื่อลงสมัคร สว. จะมีความผิดฐานเรียกหรือรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด ตามมาตรา 79 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี
  • หากมีการ “รับสินบน” เพื่อเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัคร สว. จะมีความผิดตามมาตรา 81 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี

ดูวิดีโอเกี่ยวกับการเลือก สว. 2567 ที่บีบีซีจัดทำไว้ได้ ที่นี่

https://www.bbc.com/thai/articles/c3g8xwp3m43o



The Politics ข่าวบ้าน การเมือง
20h·
รายการเอ็กซ์อ๊อก talk ทุกเรื่อง สนทนากับ เป๋า ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ถึงการเลือกสว. ชุดใหม่ มองหากประชาชนไม่สู้ก็อยู่แบบเดิม เดิมพันใหญ่ ไขก็อกเปลี่ยนประเทศ
#เอ็กซ์อ๊อกtalkทุกเรื่อง
ชมคลิป
(https://www.facebook.com/watch/?v=1410970789540482&t=0)


"มันเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อไม่ให้ผมได้เป็น ผบ.ตร.แค่นั้น ถ้าผมเป็นรอง ผบ.ตร.เบอร์ 6 ไม่มีปัญหา วันนี้อยู่ได้สบาย แต่เนื่องจากมันเบอร์ 1" "บิ๊กโจ๊ก" ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน กล่าวที่สำนักงาน ป.ป.ช. หลังยื่นหนังสือร้องเรียนให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของบุคคลต่าง ๆ รวม นายกฯเศรษฐา



เปิดเหตุผล พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ทำไมต้องยื่นเรื่องร้องเรียนนายกฯ เศรษฐา และกรรมการ ป.ป.ช.

22 เมษายน 2024
บีบีซีไทย

ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์หลังจากมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) หรือ "บิ๊กโจ๊ก" ออกจากราชการไว้ก่อน พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหานายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีสั่งย้ายช่วยราชการ-ส่งกลับ ก่อนถูกให้ออกจากราชการ พร้อมปฏิเสธเป็นผู้ปล่อยเอกสารยื่นตรวจสอบการแทรกแซงแต่งตั้งหนึ่งในกรรมการ ป.ป.ช.

ศึกภายในวงการสีกากีลุกลามขยายวง เมื่อนายกฯ และกรรมการ ป.ป.ช. บางคน ตกอยู่ในวงการต่อสู้กันในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

วันนี้ (22 เม.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมงแจกแจงสาเหตุการเข้ายื่นร้องทุกข์ต่อประธาน ป.ป.ช. ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของนายกรัฐมนตรี จากการแต่งตั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะที่ตนเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกรณีสั่งย้ายช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี และสั่งย้ายกลับโดยยังไม่มีการสอบสวนของคณะกรรมการ ก่อนตามมาด้วยคำสั่ง "ฟ้าผ่า" ให้ออกจากราชการไว้ก่อนในวันที่ 18 เม.ย.

"มันเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อไม่ให้ผมได้เป็น ผบ.ตร. แค่นั้น ถ้าผมเป็น รอง ผบ.ตร.เบอร์ 6 ไม่มีปัญหา วันนี้อยู่ได้สบาย แต่เนื่องจากมันเบอร์ 1" พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว โดยเบอร์ 1 ที่เขาระบุ หมายถึงสถานะผู้มีอาวุโสลำดับที่ 1 ในการเป็นแคนดิเดตชิง ผบ.ตร. ในเดือน ก.ย. ที่จะถึงนี้

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า วันนี้ออกมาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของตัวเอง หลังจากถูกดำเนินการอย่างไม่เป็นธรรมมา 6 เดือน จนถึงขั้นให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงต้องออกมาใช้สิทธิ์ในการต่อสู้อย่างถูกต้อง ซึ่งยืนยันว่าส่วนตัวไม่ได้กังวล เพราะเชื่อมั่นว่าอย่างไรจะได้กลับมา

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ระบุว่า ความเคลื่อนไหวของเขาวันนี้ เป็นการ "มาขอความยุติธรรมนอกองค์กรตำรวจ" จากการถูก "รุมกินโต๊ะ" โดยบุคคลที่เขายื่นกล่าวหาต่อ ป.ป.ช. ซึ่งมีดังนี้

หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน-พนักงานสอบสวน

การยื่นต่อ ป.ป.ช. ในวันนี้ เขายังกล่าวหาหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนและคณะพนักงานสอบสวนที่ทำคดีเว็บพนันว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะไม่มีอำนาจในการสอบสวน โดยระบุว่า คดีที่เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ตำรวจต้องมีหน้าที่เพียงรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้น และส่งให้ ป.ป.ช. สอบสวน และบางคดีเป็นอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ชี้ว่า แต่จากกระบวนการที่ผ่านมา 6 เดือน กลับปรากฏว่า พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจนครบาลเตาปูน ภายใต้การนำของหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนระดับนายพล ไม่ได้ส่งให้ ป.ป.ช. ภายใน 30 วันหลังจากมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 2561 จึงถือเป็นการสอบสวนโดยไม่มีอำนาจ โดยได้นำคำพิพากษาในอดีตที่ศาลเคยยกฟ้องมาเป็นหลักฐาน เนื่องจากพนักงานสอบสวนไม่ได้รายงานต่อ ป.ป.ช. แล้วศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง



พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ อธิบายว่า คดีนี้เริ่มต้นจากการดำเนินคดีกับลูกน้องของตน 8 คน ซึ่ง ป.ป.ช. ได้เรียกสำนวนดังกล่าว พร้อมสำนวนคดีของตน กับพวกรวม 5 คน กลับไปทำเอง เนื่องจากอยู่ในอำนาจหน้าที่ โดย 2 คดีนี้ได้แก่ คดีเว็บไซต์พนันออนไลน์มินนี่ และ เว็บไซต์พนันออนไลน์บีเอ็นเค มาสเตอร์ (BNK MASTER)

"เป็นการสอบสวนโดยมิชอบ เป็นอาญาเถื่อน" พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว พร้อมบอกว่า ทั้งการออกหมายจับและการส่งฟ้องต่ออัยการ ไม่ได้มีการรายงานต่อ ป.ป.ช. ทราบ ทั้งที่อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน คือการสอบสวนแทน ป.ป.ช.

อดีตรอง ผบ.ตร. กล่าวต่อไปว่า กระบวนการดำเนินคดี ยังมีการแยกคดีสอบสวนออกมาเป็นคดีย่อย ๆ เพิ่มเติมอีก ซึ่งถือว่าผิดขั้นตอนทางกฎหมาย เนื่องจากคดีที่ปรากฏเส้นเงินเส้นเดียวกัน ผู้ต้องหากลุ่มเดียวกัน บัญชีม้า หรือเว็บพนันหลายเว็บ หากมีผู้ต้องหาคนเดียวต้องทำเป็นคดีเดียวกัน ไม่สามารถแยกคดีมาสอบสวนได้ ดังที่ทนายความของเขาเคยตั้งโต๊ะแถลงว่า พนักงานสอบสวนมีความพยายามในการตั้งคดีที่ซ้ำซ้อนขึ้นมาใหม่

"คดีนี้ไม่ได้หวังผลเรื่องคดี แต่หวังผลแค่ไม่ให้ผมเป็น ผบ.ตร."

นอกจากนี้ ในคดีที่สองซึ่งตำรวจตั้งเป็นคดีฟอกเงิน มีมูลค่าการกระทำความผิด 400 ล้านบาท ตามกฎหมายแล้วต้องส่งให้ดีเอสไอเป็นคนทำคดี แต่กลับไม่มีการส่งให้ดีเอสไอดำเนินการ

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยังยื่นต่อ ป.ป.ช. กล่าวหานายกฯ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากการแต่งตั้ง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะที่ตนเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกรณีคำสั่งย้ายให้ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2567

ตามการเปิดเผยของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ระบุว่า ตามคำสั่ง ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานสอบสวนภายใน 60 วัน ซึ่งเขาได้เตรียมการไปให้การต่อปลัดกระทรวงยุติธรรมในสัปดาห์หน้า แต่ยังไม่ทันเริ่มกระบวนการ กลับมีคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

"กรรมการยังไม่ได้สอบเลย แต่นายกฯ ส่งกลับแล้ว และให้ออกจากราชการแล้ว อย่างนี้ประชาชนและสังคมจะงงหรือไม่"


พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุวิมล ผบ.ตร และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ในงานแถลงข่าวเคลียร์ใจ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มี.ค. และในวันเดียวกัน นายกฯ ได้สั่งย้ายนายตำรวจทั้งคู่ช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี

ประเด็นที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ แถลงวันนี้ ยังชี้ด้วยว่า การให้ออกจากราชการ มีผลต่อการพิจารณาแต่งตั้ง ผบ.ตร.

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า ระหว่างการถูกกล่าวหาในคดีเว็บพนัน 6 เดือน ตั้งแต่การออกหมายเรียก จนถึงการออกหมายจับ พนักงานสอบสวนไม่ได้ส่งสำนวนให้กับ ป.ป.ช. เนื่องจากหากเรื่องอยู่ในมือของ ป.ป.ช. แล้ว ตามกฎหมาย ผู้ถูกสอบสวนถือว่ามีสถานะเป็น "ผู้บริสุทธิ์" โดยตามกฎหมายของ ป.ป.ช. หากยังไม่มีการชี้มูลความผิด ห้ามนำกรณีดังกล่าวมาใช้พิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น รวมถึงขึ้นเงินเดือน

เขายังชี้ด้วยว่า เหตุที่รีบให้มีคำสั่งออกจากราชการไว้ก่อน ในวันที่ 18 เม.ย. และยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ในวันที่ 19 เม.ย. เพราะหากส่ง ป.ป.ช. ไปแล้ว จะมีคำสั่งให้ออกจากราชการไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคสอง ระบุว่า ตราบใดที่ไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด จะปฏิบัติต่อบุคคล หรือจำเลย เสมือนเป็นผู้ต้องหาไม่ได้ และเขาเห็นว่า การกระทำแบบนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นความผิดตามมาตรา 157 เรื่องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อย่างแน่นอน

“การส่งผมกลับ และให้ผมออก มีการแบ่งงานกันทำ” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว

เขากล่าวด้วยว่า วันนี้ ได้ยื่นร้องทุกข์กล่าวหานายเศรษฐาในกรณีแรก และจะมีการยื่นกล่าวหาอีกครั้งในอีก 3-4 วันข้างหน้า รวมทั้งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะยื่นฟ้องร้องผ่านช่องทางศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบอีกทางหนึ่งด้วย

กรรมการ ป.ป.ช. รุ่นพี่หลักสูตร วปอ.

นอกจาก ป.ป.ช. จะกลายเป็นองค์กรที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ มายื่นเรื่องขอความเป็นธรรมแล้ว ยังปรากฏเอกสารที่เปิดเผยเบื้องหลังการแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช. รายหนึ่ง ซึ่ง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เป็นผู้ยื่นเรื่อง

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักได้เผยแพร่เอกสารที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยื่นต่อ ป.ป.ช. เพื่อคัดค้านการการปฏิบัติหน้าที่และขอให้ตรวจสอบพฤติกรรมไม่เหมาะสมของกรรมการ ป.ป.ช. รายหนึ่ง เกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการ ป.ป.ช. และการขอความช่วยเหลือจากเรื่องที่ถูกร้องเรียนในวาระต่าง ๆ

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นคนปล่อยเอกสารการแทรกแซงแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช. รายนี้ ตามที่มีการเผยแพร่กันในโซเชียลมีเดีย ส่วนจะเป็นเอกสารจริงหรือไม่นั้น เขาระบุว่า "ผมไม่ขอพูดว่าเยสหรือโน ซึ่งสื่อต้องเข้าใจเอง ได้เห็นแล้วเอกสารก็จะรู้ว่าจริงหรือไม่ วันนี้ใครทำอะไรก็จะได้ตามนั้น"



สำหรับเนื้อหาในเอกสารดังกล่าว ระบุว่า กรรมการ ป.ป.ช. รายนี้ ซึ่งเป็นรุ่นพี่หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 58 (วปอ.58) มาขอความช่วยเหลือโดยให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ พาเข้าพบ "นายพล ป." เพื่อให้สนับสนุนให้ได้รับการคัดเลือกเป็น กรรมการ ป.ป.ช. ในช่วงปลายปี 2562

เมื่อเข้าดำรงตำแหน่งในปี 2564 กรรมการ ป.ป.ช. คนดังกล่าวยังขอให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ช่วย "จัดการ" ปัญหาการร้องเรียนจากที่ปรึกษากรรมการ ป.ป.ช. รายหนึ่ง พร้อมอ้างว่าจะช่วยเหลือคดีใน ป.ป.ช. ของ "นายพล ป." แต่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ แจ้งว่า ไม่มีหลักฐานว่า ที่ปรึกษากรรมการ ป.ป.ช. เป็นคนทำ กรรมการ ป.ป.ช. รายนี้จึงไม่พอใจ และพูดจาในลักษณะข่มขู่ว่า "พี่โจ๊ก อย่ามีเรื่องมาพึ่งผมบ้างก็แล้วกัน"

นอกจากนี้ ยังมีกรณีอื่นที่ปรากฏคำกล่าวถึงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าทั้งคู่มีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกันว่า "อย่าให้มีเรื่องกล่าวหาพี่มาถึงผมนะ ผมฟันไม่เลี้ยง"

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ระบุในหนังสือเพิ่มเติมว่า เป็นที่ชัดแจ้งว่า กรรมการ ป.ป.ช. คนดังกล่าว มีความขัดแย้งกับ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ อย่างชัดแจ้ง จึงขอยื่นคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องกล่าวหา และคดีในกรณีที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ และคณะตำรวจที่ถูกกล่าวหาทุกเรื่อง เนื่องจากเห็นว่า กรรมการ ป.ป.ช. รายนี้ มีสาเหตุโกรธเคืองกันโดยตรง

เอกสารดังกล่าวยังอ้างถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพยานไว้ด้วย

ปฏิกิริยาทางฟากของ ป.ป.ช. ล่าสุด นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ได้รับหนังสือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนจะต้องถอนตัวกรรมการ ป.ป.ช. คนดังกล่าวออกจากการพิจารณาคดีของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หรือไม่นั้น ต้องดูข้อเท็จจริงตามคำร้องก่อน

จุดสำคัญของ ป.ป.ช. ในคดีของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ คือการพิจารณาปมการกระทำผิดต่อหน้าที่ราชการของเขาจากการถูกกล่าวหาพัวพันเว็บพนัน

สำหรับคดีเว็บพนัน คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติ 4 ต่อ 1 เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2567 ให้รับคดีไว้พิจารณาดำเนินการตรวจสอบและไต่สวนเอง และยังไม่มีการกำหนดกรอบเวลาทำงานออกมา

ผลการตรวจสอบและการชี้มูลของ ป.ป.ช. อาจส่งผลต่อการเข้าชิงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในสมัยถัดไปของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นหลังเดือน ส.ค. ที่จะถึงนี้

https://www.bbc.com/thai/articles/cx8qxvnxj5eo

ธีระชัย แสนแก้ว ส.ส.อุดรธานี #พรรคเพื่อไทย ยอมรับว่า ขณะนี้ คนเสื้อแดง และกลุ่มคนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมีความไม่สบายใจชื่อ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ (“น้องรัก” ของ พล.อ.ประยุทธ์) มาเป็น รมช.กลาโหม ในการ #ปรับครม. รอบนี้

(https://today.line.me/th/v2/article/7NRajkn)
.....

Matichon Online @MatichonOnline

ส.ส.เพื่อไทย รับ #คนเสื้อแดง ไม่สบายใจ ชื่อ #บิ๊กเล็ก นั่งรมช.กลาโหม

21 เมษายน - ธีระชัย แสนแก้ว ส.ส.อุดรธานี #พรรคเพื่อไทย ยอมรับว่า ขณะนี้ คนเสื้อแดง และกลุ่มคนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมีความไม่สบายใจชื่อ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ มาเป็น รมช.กลาโหม ในการ #ปรับครม. รอบนี้

แม้ส่วนตัว จะไม่ขัดข้องหาก พล.อ.ณัฐพลจะเป็น รมช.กลาโหม เพราะ การปรับ ครม.เป็นอำนาจของนายกฯ

เรื่องนี้เป็นความไม่สบายใจนี้ เกิดขึ้น ตั้งแต่ช่วงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ๆ เวลาผ่านมาถึงตอนนี้ก็ยังมีความไม่สบายใจอยู่

อย่างน้อยๆ อยากให้เปลี่ยนเป็นทหารคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปราบคนเสื้อแดง ฃ ส่วนตัวเป็นห่วงความรู้สึกคนเสื้อแดง ไม่อยากให้เกิดแรงกระเพื่อม หรือคลื่นใต้น้ำขึ้น จนอาจกระทบต่อการบริหารรัฐบาล

แต่ขึ้นอยู่กับนายกฯจะตัดสินใจอย่างไร หากเป็นทหารคนอื่นเชื่อว่าความรู้สึกคนเสื้อแดงน่าจะพอรับได้
.
#มติชนออนไลน์

(https://twitter.com/MatichonOnline/status/1782147829940785235)

.....
“น้องรัก” ของ พล.อ.ประยุทธ์

พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 13 ก.พ. พ.ศ. 2504 ปัจจุบัน อายุ 62 ปี เขาจบการศึกษาจาก รร.เตรียมทหาร รุ่นที่ 20 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 31 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ. ที่มาดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพระราชวัง โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ด้วย “คอนเน็กชัน” เชิงลึกในสายทหารเหล่านี้ ประกอบกับการเป็นมือสนองงานใกล้ชิดให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ยุครัฐประหาร จวบจนยุคโควิดระบาด จึงไม่แปลกที่สื่อสายทหารอย่าง วาสนา นาน่วม ถึงกับเรียกเขาว่า “สายตรงบิ๊กตู่” และเป็น “น้องรัก”

"ผมเคยทำงาน คสช. กับท่าน (พล.อ. ประยุทธ์) มาตั้งแต่ปี 2557 ต้องทำงานร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ หลายกระทรวง ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่าย แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ ต้องใช้ศิลปะและปัจจัยหลายอย่าง ท่านก็มองว่าผมมีบุคลิกที่สามารถทำงานนี้ได้" พล.อ.ณัฐพล เปิดใจกับบีบีซีไทย เมื่อปี 2563

ความใกล้ชิดกับ “บิ๊กตู่” นี้เอง ทำให้สังคมออนไลน์บางส่วนตั้งคำถามว่า หากเขานั่ง รมว.กลาโหม แล้ว จะนำการปฏิรูปกองทัพ โดยเฉพาะยกเลิกการเกณฑ์ทหารภาคบังคับได้จริงหรือไม่ ซึ่งเมื่อสื่อมวลชนจ่อไมค์ถาม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พิธาตอบเพียงว่า “ต้องให้โอกาสดู”

วาสนา เปรียบ พล.อ.ณัฐพล ว่าเป็นนายทหารสายยุทธการ หรือ “สายบุ๋น” เพราะเคยมีตำแหน่งหลัก คือผู้อำนวยการกอง กรมยุทธการทหารบก ในปี 2550 ก่อนเติบโตในสายงานนี้มาตลอดจนขึ้นเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก ในเวลาไม่นาน

และด้วยความเป็น แม่ทัพ “สายบุ๋น” นี้เอง ที่ทำให้ผู้สื่อข่าวสายทหารผู้นี้ชี้ว่า “บิ๊กเล็ก” ไม่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ปี 2552-2553 เพราะในเวลานั้น เขาดำรงตำแหน่ง “ผู้อำนวยการกองการวิจัยและพัฒนา กรมยุทธการทหารบก ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการครั้งนั้น”

ภายหลังการรัฐประหาร เมื่อ 22 พ.ค. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ เรียกตัว พล.อ.ณัฐพล ซึ่งในเวลานั้น ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก มาช่วยงานในฐานะหัวหน้าส่วนอำนวยการ สำนักงานเลขาธิการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ควบคู่กับการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ที่มา บีบีซีไทย
(https://www.bbc.com/thai/articles/cx9r7k457d8o)
.....





 

“ในหลวง“ ทรง เท่ ฉลองพระองค์ สุดชิล ทอดพระเนตร “พระราชินี” แข่งขันเรือใบข้ามอ่าว แต่ในเวลาต่อมา เดินจนกางเกงเกือบหลุด ??? พี่เลี้ยงรีบวิ่งมาดึงกางเกงให้แทบไม่ทัน


Wassana Nanuam
3d·

“ในหลวง“ ทรง เท่
ฉลองพระองค์ สุดชิล
ทรงพระมาลา เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
.
ประทับ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
ทอดพระเนตร “พระราชินี”ทรงร่วมทีม วายุ แข่งขันเรือใบข้ามอ่าว
หาดชะอำ -อ่าวเตยงาม
45 ไมล์ทะเล
รำลึก “ร.9” ทรงเรือใบ เวคา
ข้ามอ่าวไทย 19 เม.ย.2509
พระราชินี ประทับเรือใบ TP52 รุ่นIRC Zero
เลขที่เรือ THA72
ทรงทำหน้าที่ บังคับหางเสือเรือ
สลับ ทรง ชักใบเรือ ปรับใบเรือ
ทรง ชนะเลิศในการแข่งขันเรือใบเฉลิมพระเกียรติ
ก่อนทรง ฮ. จาก เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ไปยังสนามเฮลิคอปเตอร์ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน สัตหีบ
รอ “พระราชินี“
และพระราชทานรางวัล
ภาพ: เพจโบราณนานมา

(https://www.facebook.com/watch/?v=758424623090151&t=0)
......


กางเกงเกือบหลุด พี่เลี้ยงรีบวิ่งมาดึงกางเกงให้แทบไม่ทัน 
คลิปที่
https://www.facebook.com/QueenCherprangVI/videos/1342839019722215


iLaw ไม่เลิก เทียบบทความของไชยันต์ ไชยพร กับดุษฎีนิพนธ์ของ สว. สมชาย แสวงการ พบ ข้อความเหมือนกับบทความของไชยันต์ ประมาณ 40 บรรทัด


iLaw
9h
·
หลังจากมีการเปิดเผยว่าดุษฎีนิพนธ์ของสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) แต่งตั้ง ซึ่งทำในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีข้อความเหมือนกับผลงานชิ้นอื่นหลายส่วน สมชายก็ได้แก้ไขโดยเพิ่มเชิงอรรถ (footnote) จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่ามีข้อความที่คัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่นเพิ่มเติม โดยหนึ่งในนั้นคือจากบทความของไชยันต์ ไชยพร
.
บทความของไชยันต์ ไชยพร เรื่อง "วิกฤตการเมืองมาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีจริงหรือ ? (ตอนที่หนึ่ง)" ตีพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ โดยหลายช่วงตอนของดุษฎีนิพนธ์หน้า 151-152 รวมประมาณ 40 บรรทัด กลับมีข้อความเหมือนกับบทความของไชยันต์
.
แม้จะมีการใส่เชิงอรรถเอาไว้ และเกริ่นนำว่าเป็นการ “สรุป” สิ่งที่ไชยันต์เขียนในโพสต์ทูเดย์ แต่ไม่ได้มีการสรุปเนื้อหาเพื่อเขียนเป็นสำนวนของผู้เขียนเอง หรือมีการใส่เครื่องหมายคำพูดเอาไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่าเป็นการยกข้อความกว่าสองหน้าจากแหล่งอื่นมาทั้งหมด
.
อ่านบทความได้ที่ (https://www.ilaw.or.th/articles/29527)
.....
iLaw
เทียบบทความของไชยันต์ ไชยพร กับดุษฎีนิพนธ์ของ สว. สมชาย แสวงการ (1)


เทียบบทความของไชยันต์ ไชยพร กับดุษฎีนิพนธ์ของ สว. สมชาย แสวงการ (2)


เทียบบทความของไชยันต์ ไชยพร กับดุษฎีนิพนธ์ของ สว. สมชาย แสวงการ (3)


iLaw
บทความของไชยันต์ ไชยพร ที่มีข้อความเหมือนกับบางช่วงตอนในดุษฎีนิพนธ์ของ สว. สมชาย แสวงการ (https://www.posttoday.com/columnist/631890)

ที่มา 
(https://www.facebook.com/photo?fbid=829310782575876&set=a.625664036273886)


ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า แถลงเปิดตัวแคมเปญ ส.ว.ประชาชน ของคณะก้าวหน้า ชวนคนร่วมสมัคร สว. ถอดสลักล้างบางเผด็จการ ย้ำต้องมี สว.ของประชาชนที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย

https://www.facebook.com/watch/?v=1355370165128335&t=0

The Politics ข่าวบ้าน การเมือง
10h·

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า แถลงเปิดตัวแคมเปญ ส.ว.ประชาชน ของคณะก้าวหน้า ชวนคนร่วมสมัคร สว. ถอดสลักล้างบางเผด็จการ ย้ำต้องมี สว.ของประชาชนที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย
#ข่าวการเมืองมติชน #ก้าวไกล #MatichonTV
.....

ชมคลิปเต็มที่เพจ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 


ไปแล้วไปลับ อย่ากลับมาเจอ ประชาชนขอไล่ส่ง


อรุณ วัชระสวัสดิ์ @ArunWatchara ·20h
จากมติชนรายวัน
.....

ทิ้งหมัดเข้ามุม - ไปแล้วไปลับ อย่ากลับมาเจอ


1 เม.ย. 2567
ข่าวสดออนไลน์

วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วเมือง หลังปรากฏข่าวคณะกรรมาธิการ สว.ชุดปัจจุบัน ได้รับจัดสรรงบดูงานและเยือนต่างประเทศ 81 ล้านบาท

สื่อระบุ มีกรรมาธิการอย่างน้อย 6 คณะ วางโปรแกรมไปทัวร์ต่างประเทศช่วงปลายเม.ย. พ.ค. ถึงต้นมิ.ย. อ้างเพื่อศึกษาดูงาน พบปะสว.ต่างประเทศ แลกเปลี่ยนข้อมูลนำความรู้กลับมาสร้างประโยชน์

ประเทศที่ไปมีทั้ง เยอรมัน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน จีน ออสเตรีย คาซัคสถาน จอร์เจีย โครเอเชีย มอนเตเนโกร บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เอสโตเนีย สโลวีเนีย

คนที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างเผ็ดร้อนคืออดีตรัฐมนตรี ปลอดประสพ สุรัสวดี โพสต์กล่าวไว้ว่า น่าเศร้าแบบไทยๆ เสียงวิจารณ์รังเกียจกันทั่วเมือง คณะกรรมาธิการของสว.ที่จะหมดวาระในวันที่ 11 พ.ค. อีกแค่ไม่ถึงหนึ่งเดือน แห่กันไปดูงานในยุโรปเป็นสิบคณะ ใช้งบถึง 81 ล้านบาท อ้างว่าตอนโควิดไม่ได้ไปไหนจึงสะสมงบเอาไว้ ตอนนี้จำเป็นต้องไปเพื่อสะสมความรู้ให้คนรุ่นหลัง

สว.ชุดนี้หลายคนมักชอบเอะอะโวยวาย กล่าวหาคนนั้นคนนี้ว่าใช้จ่ายงบฟุ่มเฟือย บางครั้งถึงกับเรียกข้าราชการไปซักถาม ทำไมถึงชอบไปศึกษาดูงานต่างประเทศกันนัก แต่คราวนี้กลับกลืนเสลดทำเสียเอง น่าเกลียดมาก

ประธานคณะกรรมาธิการเกือบทุกคนเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกับตนทั้งสิ้น หลายคนเป็นทหารหรือตำรวจ และตนยืนยันได้ว่า ขณะที่ยังเป็นข้าราชการล้วนเป็นคนดีมาก มาครั้งนี้รู้สึกตกใจและนึกไม่ถึงว่า อะไรทำให้ท่านตัดสินใจกระโดดลงเหว ให้คนเขาด่าว่าไปทั่วเมือง เชื่อสักครั้งในฐานะเพื่อนเก่า ยกเลิกการเดินทางเสีย เกียรติยศที่สะสมมีมากมาย มาละลายทิ้งทำไม จึงขอเตือนสติในฐานะเพื่อน แม้กระทั่ง สว.ด้วยกันเอง บางคนก็ไม่เห็นด้วย มองเป็นการใช้งบฟุ่มเฟือย ไม่เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะช่วงใกล้หมดวาระ การอ้างว่าไม่ได้ไปเที่ยวแต่ไปดูงาน จึงฟังไม่ขึ้น ทำให้ดูเหมือนนำเงินภาษีประชาชนไปถลุงทิ้งทวน

แทนที่ประชาชนจะเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีของ สว.ที่กำลังจะหมดอายุ กลับกลายเป็นไล่ส่ง ไปแล้วไปลับ อย่ากลับมาเจอกันอีกเลย มันฯ มือเสือ

ที่มา (https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/relevant/news_8195806)


ทักษิณ…Who? ทำไม ผอ.การเมือง นิด้า ถึงพูด ยิ่งโผล่ ยิ่งฮวบ

 





Live : ทักษิณ…Who? คุยกับ ผอ.การเมือง นิด้า ในวันที่ยิ่งโผล่ ยิ่งฮวบ | NEWSROOM 22 เม.ย 67

THAITATH Online Originals

Streamed live 10 hours ago 

เรียกได้ว่า ยิ่งปรากฏตัวต่อหน้าสื่อมากเท่าไร คะแนนนิยมก็ลดฮวบมากเท่านั้น หลังผลสำรวจของนิด้าโพล พบว่า บทบาทของ อดีตนายกฯ ตั้งแต่ออกจาก รพ.ตำรวจนั้น ไม่มีผลต่อคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทย หนักไปกว่านั้น เกินครึ่งบอกว่า เลือกตั้งรอบหน้า พท. ยังไงก็ไม่ชนะ
 
จากผลโพลของนิด้าที่เปิดเผยออกมา ส่งผลต่อ นายกฯ ที่เคยประกาศลั่น จะทำ พท. ชนะเลือกตั้งรอบหน้า
 รายการ NEWSROOM จึงต้องชวน รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา นิด้า มาถามตรงว่า ทำไมชายชื่อทักษิณ ถึงไม่สามารถดึงเรือ พท. ที่กำลังอับปางให้โผล่พ้นผิวน้ำทะเลออกมาได้
 
ดำเนินรายการโดย 
กาย พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ

https://www.youtube.com/watch?v=saPdPK_NYBQ


อ.สุรชาติ' ชี้แก้ระเบียบกลาโหมไม่ช่วยป้องกันรัฐประหาร สิ่งสำคัญคือศาลยุติธรรมต้องยืนยันให้ชัดว่าการทำรัฐประหารผิดกฎหมาย - อ.เข็มทอง เคยพูดว่า "(ถ้า) ศาลตัดสินว่าคำสั่งรัฐประหารไม่ใช่กม. รัฐประหารไม่ชอบ ถ้าได้คำพิพากษานี้แม้ครั้งเดียว ผมคิดว่าพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเลย"

'อ.สุรชาติ' ชี้แก้ระเบียบกลาโหมไม่ช่วยป้องกันรัฐประหาร สิ่งสำคัญคือศาลยุติธรรมต้องยืนยันให้ชัดว่าการทำรัฐประหารผิดกฎหมาย







@lawcunotslave·
Aug 8, 2020

ที่ไม่เคยมีเลยคืออยู่ดีๆ ศาลตัดสินว่าคำสั่งรัฐประหารไม่ใช่กม. รัฐประหารไม่ชอบ ถ้าได้คำพิพากษานี้แม้ครั้งเดียว ผมคิดว่าพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินเลย วัฒนธรรมความรับผิดรับชอบ accountability เกิดขึ้นทันที ผมเชื่อว่าจะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว้างขวางกว่าร่างรธน.ใหม่ 
ดร.เข็มทอง นิติศาสตร์ จุฬาฯ



ตัวอย่างการเอาผิดคณะรัฐประหาร : ออกกฎหมายพิเศษ (เกาหลี) - แก้ไขรธน.ยกเลิกบทบัญญัตินิรโทษกรรม โดยผ่านการลงประชามติของปชช. (ตุรกี) - ศาลตัดสินว่ากฎหมายนิรโทษกรรมขัดรธน. (อุรุกวัย) - ศาลไม่ยอมรัการรัฐประหาร (ฟิจิ)


ภาพที่ 1 ประตู main gate ของ Korea University

เราจะล้างผลพวงรัฐประหารอย่างไร: ข้อคิดจากเกาหลีใต้

19/07/2561 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ภาพข้างบนนี้ถ่ายจากหน้าประตู ‘main gate’ ของ Korea University เป็นเครื่องเตือนใจถึงเหตุการณ์ที่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยและชาวบ้านในชุมชน Anam ของกรุงโซล ออกมาต่อต้านรัฐบาลทหาร ในปี 1960

เกาหลีใต้และไทยดูจะไม่ห่างกันมากในแง่ความลุ่มๆดอนๆ ของเสถียรภาพประชาธิปไตย เพราะการรัฐประหารและปราบปรามประชาชนบ่อยครั้งตลอดหน้าประวัติศาสตร์ ความแตกต่างอยู่ที่ว่าพวกเขาเรียนรู้ที่จะเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยจนเข้มแข็งได้อย่างทุกวันนี้ ด้วยข้อคิดง่ายๆว่า

“We will not forget what they wanted”

การต่อสู้ของประชาชนเกาหลีใต้

หนึ่งในการรำลึกถึงความสูญเสียในอดีตของประชาชนเกาหลีใต้ เกิดขึ้นในปี 2012 เมื่อมีการสร้างภาพยนตร์เกาหลีใต้ชื่อ ‘National Security’ (Namyeong-dong 1985 in Korean) บทภาพยนตร์เขียนขึ้นมาจากความทรงจำของ คิม กึน แต อดีตนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและนักการเมือง เขาถูกลักพาตัวและถูกซ้อมทรมานเพื่อบีบบังคับให้รับสารภาพโดยเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงของรัฐบาลนายพลชุน ดู ฮวาน

กรณีของคิม กึน แต เป็นเพียงกรณีการละเมิดสิทธิ์เพียงเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น ท่ามกลางการกวาดล้างประชาชนจำนวนมาก ภายใต้ระบอบเผด็จการอันยาวนานของนายพล ชุน ดู ฮวาน ระหว่างทศวรรษที่ 1980’s สะท้อนถึงแบบแผนการละเมิดสิทธิประชาชนภายใต้ระบอบเผด็จการได้เป็นอย่างดี หนังเรื่องนี้นำข้อถกเถียงถึงความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านในเกาหลีใต้กลับมาเบ่งบานอีกครั้ง


ภาพที่ 2 โปสเตอร์ภาพยนต์ Namyeong-dong 1985

นับตั้งแต่นายพลชุน ดู ฮวาน ทำการรัฐประหารขึ้นครองอำนาจทางการเมือง หลังเหตุการณ์สังหารอดีตประธานาธิบดี ปัก จุง ฮี ในปี 1979 ประชาชนเผชิญการละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างกว้างขวาง มีผู้คนถูกทำร้ายในหลากหลายรูปแบบ เช่น การจับกุมนักเขียน นักกิจกรรม การกวาดล้างผู้นำฝ่ายซ้าย การสลายการชุมนุมคนงาน นักศึกษาประชาชนอีกหลายระลอก ประชาชนนับแสนคนถูกป้ายสีว่าบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ มีการซ้อมทรมาน ผู้คนจำนวนไม่น้อยสูญหายและหากยังมีชีวิตอยู่ก็ได้รับความกระทบกระเทือนทั้งร่างกายและจิตใจ ฯลฯ

สัญญาณของการเปลี่ยนผ่าน เกิดขึ้นหลังการลุกฮือของประชาชนชาวเกาหลีใต้อีกครั้งในปี 1987 จนสามารถกดดันให้สภานิติบัญญัติแก้กฎหมายให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี มีการเรียกร้องให้มีการชำระประวัติศาสตร์บาดแผลโดย โร แต วู ประธานาธิบดีที่สืบทอดอำนาจจากนายพลชุน ดู ฮวาน เริ่มแสดงการยอมรับความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ด้วยการสร้างอนุสรณ์สถานการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และตรากฎหมายฟื้นฟูเกียรติให้แก่ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ

ในปี 1989 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยโจมตีพิเศษระหว่างการลุกฮือของชาวเมืองกวางจู ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบทางมโนธรรม และเปิดเผยข้อมูลการทารุณกรรมของกองทัพต่อประชาชน จนกระทั่งในปี 1990 องค์กรภาคประชาสังคม 41 องค์กรจัดกิจกรรมรำลึกการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยของชาวเมืองกวางจู และนั่นปูทางสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกระบวนการยุติธรรมของเกาหลีใต้

เมื่อเกาหลีใต้สามารถเปลี่ยนผ่านประเทศเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ระหว่างปี 1995-2010 ก็ทำให้ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านความยุติธรรมในสังคมเกาหลีใต้ก้าวหน้าอย่างมีพัฒนาการตามมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี 2010 มีการตั้งคณะกรรมการแสวงหาความจริงขึ้นมา และรัฐบาลพลเรือนทยอยออกแบบขั้นตอนต่างๆอย่างละเอียดลออ เพื่อชำระความผิดที่ระบอบเผด็จการกระทำต่อประชาชน


กฎหมายพิเศษอุทิศแด่ขบวนการประชาธิปไตย “May 18”

การเปลี่ยนผ่านมาสู่รัฐบาลพลเรือนเปิดฉากขึ้นได้ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับการค้นคว้าหาความจริงและคืนความเป็นธรรมให้ประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย มีการเรียกร้องอย่างสูงในหมู่ประชาชนในการคืนความยุติธรรมให้แก่ “ขบวนการประชาธิปไตย” (Democratization Movement) ซึ่งตกเป็นเหยื่อของปราบปรามของระบอบเผด็จการ ที่เมืองกวางจู เมื่อปี 1980

แม้ว่าประธานาธิบดีพลเรือนในเวลานั้นอย่างนายคิม ยอง ซัม (1992-1997) จะวิจารณ์การกระทำของอดีตประธานาธิบดี นายพลชุน ดู ฮวาน อยู่บ้าง แต่คิม ยอง ซัมกลับเชื่อว่าการดำเนินคดีทั้งสองอาจนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพการเมืองและความไม่สงบทางสังคม คิมโต้แย้งความพยายามฟ้องร้องคดีอาญาต่ออดีตประธานาธิบดี ชุน ดู ฮวาน โดยกล่าวว่า “ให้ความจริงควรสงวนไว้สำหรับการตัดสินทางประวัติศาสตร์ในอนาคต” ในระหว่างที่เขาสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1993 มีผู้ชุมนุมไปขัดขวางคิม ยอง ซัมเข้าคารวะสุสานมังวอนทง เพราะโกรธแค้นจากข้อความดังกล่าว

ในปี 1994 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและญาติผู้เสียชีวิตจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่เมืองกวางจูในปี 1980 ได้เรียกร้องให้มีค้นหาความจริงและดำเนินคดีกับชุน ดู ฮวาน และพวกในข้อหากบฏ ฆาตกรรม และทรยศต่อชาติ

แรกเริ่มเดิมที อัยการของกรุงโซลตัดสินใจที่จะระงับการดำเนินคดีกับอดีตผู้นำกองทัพ 2 คน คือชุน ดู ฮวาน และ โร แต วู โดยมีความเห็นว่าการยึดอำนาจเมื่อปี 1979 เป็นการรัฐประหารที่กระทำการสําเร็จ แต่ก็ทำการควบคุมเฉพาะกิจการของกองทัพเท่านั้น ในขณะที่สถาบันทางการเมืองหลักอื่นๆ ยังคงทำงานต่อไปตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญซึ่งมิได้ถูกยกเลิกหรืองดการบังคับใช้จากคณะรัฐประหารแต่อย่างใด ดังนั้นรัฐบาลคิม ยอง ซัม จึงยังคงเป็นผลต่อเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่

ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญของเกาหลีได้กล่าวถึงประเด็นนี้ในปี 1995 ว่าการตัดสินใจไม่ฟ้องร้องเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดความไม่พอใจกระจายในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางและนำไปสู่การเคลื่อนไหวกดดันอีกครั้ง


การเปลี่ยนคำวินิจฉัยครั้งสำคัญ

มีการเปิดเผยข้อมูลทุจริตของเผด็จการทั้งสองออกมาเป็นระยะจากองค์กรประชาสังคมต่างๆในเกาหลีใต้ จนสามารถกดดันให้รัฐบาลคิม ยอง ซัม รัฐบาลพลเรือนในเวลานั้นดำเนินการคืนความเป็นธรรมและตรวจสอบข้อเท็จจริงการทุจริตของชุน ดู ฮวาน และ โร แต วู

ในเวลาต่อมา รัฐบาลสามารถผ่านกฎหมายพิเศษเพื่อพิจารณาเหตุการณ์การปราบปรามการเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 1980 โดยฝ่ายจำเลยได้ต่อสู้ว่ากฎหมายฉบับนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญใน 2 ประการ คือ

หนึ่ง การออกกฎหมายพิเศษนี้เป็นการออกกฎหมายเพื่อมุ่งเอาผิดกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้รับรองไว้

สอง การออกกฎหมายฉบับนี้ขัดต่อหลักนิติรัฐในประเด็นเป็นการออกกฎหมายเพื่อเอาผิดย้อนหลัง

อย่างไรก็ตาม ถึงที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับรองกฎหมายฉบับนี้ ด้วยเหตุผลว่า การออกกฎหมายฉบับนี้ทำไปโดยคํานึงถึงหลักการพื้นฐานที่สําคัญที่สุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งการชําระสะสางความผิดพลาดในอดีตเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นเรื่องที่ต้องทําเพื่อให้สังคมคลายความเคลือบแคลงสงสัย อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญยังยืนยันอีกว่าการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 18 พ.ค.1980 ไม่ขัดกับหลักการกฎหมายเพื่อเอาผิดย้อนหลัง

คำวินิจฉัยนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ให้แก่การตรากฎหมายอีกหลายฉบับเพื่อเปลี่ยนผ่านความยุติธรรมภายในประเทศ โดยกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ดำเนินไปในกรอบการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับความรุนแรงทางการเมืองใน 4 ประการคือดําเนินคดีกับอดีตผู้นําที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรง
ปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตย
เยียวยาความเสียหายให้แก่เหยื่อและญาติของผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และ
ค้นหาความจริงเพื่อนําไปสู่การชําระความผิดพลาดที่รัฐเป็นผู้กระทําในอดีต


การล้างผลพวงการรัฐประหารของไทย


ภาพที่ 3 ประชาชนที่ออกมาต่อต้านรัฐประหาร ปี 2557 ในไทย ที่มา: Banrasdr Photo

จากบทเรียนของประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนการละเมิดสิทธิประชาชนตลอด 4 ปีที่ผ่านมากันใหม่อีกครั้ง แม้ว่าประเทศไทยจะผ่านความรุนแรงทางการเมืองมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ยังไม่เคยมีครั้งใดที่ผู้กระทำความผิดจะถูกนำตัวมาลงโทษ เราอาจจะเริ่มคิดถึงเรื่องนี้ได้จากเหตุการณ์ร่วมสมัยที่สุดคือ หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ทำรายงานรวบรวมสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมา พบว่า มีการเรียกบุคคลเข้ารายงานตัว การควบคุมตัวติดตาม การควบคุมการเผยแพร่ข่าว ตลอดจนการจับกุมดำเนินคดีต่อผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบ เป็นไปอย่างกว้างขวาง

แม้ว่ารัฐบาล คสช. จะประกาศให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการดำเนินการให้ “สิทธิมนุษยชน” เป็นวาระแห่งชาติ ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ และการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ดังปรากฏตัวอย่างในตารางสถิติการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ที่มา: รายงาน 4 ปีภายใต้ คสช. สิทธิมนุษยชน และผลพวงรัฐประหารต่อสังคมไทย โดยศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชน



สมานแผลของประวัติศาสตร์

ในวาระครบรอบ 4 ปี ของการยึดอำนาจของคณะรักษาความสบแห่งชาติ (คสช.) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเสนอวิธีจัดการกับผลพวงการรัฐประหาร ตลอด 4 ปี ของไทย อันแสดงให้เห็นว่าภายใต้ความสงบของการปกครองในระบอบรัฐประหาร เมื่อลงลึกไปในแต่ละกรณี เราจะพบความเจ็บปวดมากมายจากเหยื่อ ที่เป็นเพียงประชาชน “ผู้เห็นต่าง” ในทางการเมือง กลับต้องกลายมาเป็น “เป้าหมาย” ในการจัดการของรัฐตลอด 4 ปี หลังการรัฐประหารเป็นมา

เพื่อยับยั้งมิให้ผลพวงจากการรัฐประหารได้รับการรองรับและบังคับใช้ในภายภาคหน้า รวมถึงเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้กลายเป็นข้อยกเว้นภายใต้เหตุผลความมั่นคงของรัฐอีก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงมีข้อเสนอต่อการจัดการผลพวงทางกฎหมายของ คสช. โดยมีตัวอย่างคร่าวๆดังนี้


แยกทหารออกจากการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน

ข้อเสนอนี้ให้จำกัดบทบาทของทหารโดยแยกเด็ดขาดจากการใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจของประชาชนโดยแท้ โดยอย่างน้อยที่สุด กองทัพต้องยุติการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติการในงานบริหาร นิติบัญญัติ และในคณะกรรมการชุดต่างๆ ทั้งหมด และต้องจัดการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นธรรมและโดยเร็วที่สุด โดยต้องแก้ไขมาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่ให้อำนาจ คสช. แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน โดยการเสนอชื่อจาก กกต.

จัดการกับผลพวงทางกฎหมาย ข้อเสนอนี้แบ่งชุดกฎหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

ชุดที่ 1 กฎหมายที่มาจากโครงสร้างหรือวิธีการออกโดยมิชอบ กล่าวคือ ชุดกฎหมายที่ออกโดยคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งมิได้มาจากฐานการใช้อำนาจนิติบัญญัติของประชาชน ได้แก่ รัฐธรรมนูญ ประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ต้องได้รับการทบทวนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จะดำเนินการทบทวนนั้น อยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการ พรรคการเมือง หรือหน่วยงานรัฐ/องค์กรอิสระก็ตาม

ชุดที่ 2 คือกฎหมายที่อยู่ในกระบวนการบังคับใช้โดยมิชอบ เป็นชุดกฎหมายซึ่งเป็นความผิดทางอาญาที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้ว แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตีความและบังคับใช้อย่างเข้มข้นหลังการรัฐประหาร โดยไม่สอดคล้องต่อเจตนารมณ์และกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการจัดการกับบุคคลซึ่งเห็นต่างหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช.

ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และใช้ฐานกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมให้ศาลวินิจฉัยคำพิพากษามีคำรับรองสิทธิทางการเมืองของประชาชน

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาล ต้องยกเลิกการนำพลเรือนเข้าสู่การพิจารณาของศาลทหาร เพื่อยืนยันหลักความเป็นกลางและความเป็นอิสระของศาล พนักงานอัยการ และพนักงานสอบสวน ต้องยืนยันว่าผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับสิทธิในการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงพยานหลักฐาน สิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ ต้องออกกฎหมายให้ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในศาลทหาร เนื่องจากคดีเกิดขึ้นระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้สามารถอุทธรณ์ฎีกาต่อศาลยุติธรรมได้ และขอรับการเยียวยาจากรัฐทั้งในรูปแบบที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน รัฐควรต้องประกันระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรตุลาการกับประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอันแท้จริงตามระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนี้การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในชั้นอัยการ ต้องยกเลิกการเข้ามากำกับและควบคุมการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีของพนักงานอัยการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดจนสร้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างการปฏิบัติงานของพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวน โดยการยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที่ 115/2557 ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานฝ่ายตำรวจมีดุลพินิจเหนือพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี นอกจากนี้ ต้องยุติการดำเนินคดีซึ่งเป็นผลมาจากการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปราบปรามบุคคลซึ่งเห็นต่างด้วยการใช้ช่องทางสั่งไม่ฟ้องคดี

เยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของทหาร

การเยียวยาประชาชนเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยมีข้อเสนอ 2 ประเภท ตามรูปแบบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คือ ประเภทที่ 1 การเยียวยาประชาชน กรณีถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่ไม่ถูกดำเนินคดี ได้แก่ บุคคลที่ยอมรับข้อตกลงอันจำกัดสิทธิบางประการ ตาม MOU ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ทหาร บุคคลที่ลี้ภัยทางการเมือง และบุคคลที่ถูกติดตาม ข่มขู่ หรือควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ อันละเมิดต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิที่จะไม่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ

ประเภทที่ 2 การเยียวยาประชาชน กรณีถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยถูกรัฐ/เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดี ได้แก่ บุคคลที่ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศและคำสั่ง คสช. คำสั่งหัวหน้า คสช. และบุคคลที่ถูกดำเนินคดีในความผิดทางอาญาฐานต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 อันเนื่องมาจากเหตุจูงใจทางการเมือง หรือตกเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ขัดต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งสามารถแบ่งพิจารณาตามช่วงชั้นการดำเนินคดีของทั้งศาลยุติธรรมและศาลทหาร

จัดการคำพิพากษาที่รับรองความสมบูรณ์ในการทำรัฐประหาร สร้างเอกสิทธิ์คุ้มครองให้ คสช. และเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย และการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนสิ้นผลไป

การจัดการคำพิพากษาที่มีลักษณะดังนี้ ศูนย์นายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้คำพิพากษาแบ่งออกเป็น 2 ชุด

ชุดที่ 1 กลุ่มคำพิพากษาซึ่งรับรองความชอบด้วยกฎหมายและความสมบูรณ์ในการทำรัฐประหารของ คสช. เพื่อลบล้างความชอบด้วยกฎหมายและความสมบูรณ์ของการกระทำรัฐประหารโดย คสช. ต้องทำให้คำพิพากษา ซึ่งอย่างน้อยที่สุด คำพิพากษาฎีกาที่ 3578/2560 คดีสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่วินิจฉัยว่า คสช. มีฐานะเป็นรัฎฐาธิปัตย์ แม้พระมหากษัตริย์ยังไม่มีพระบรมราชโองการรองรับสถานะของ คสช. ต้องสิ้นผลไปทันที ทั้งนี้ เพื่อทำลายหลักในการวินิจฉัยว่าการใช้อำนาจอันไม่ชอบด้วยวิถีทางประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ต้องถูกลบล้างและไม่ถูกนำมาอ้างโดยสถาบันตุลาการในอนาคต

ชุดที่ 2 กลุ่มคำพิพากษาซึ่งสร้างเอกสิทธิ์คุ้มครองมิให้ คสช. และเจ้าหน้าที่รัฐต้องรับโทษทางกฎหมาย และกลุ่มคำพิพากษาซึ่งนำกฎหมายอันละเมิดสิทธิเสรีภาพมาวินิจฉัยเพื่อลงโทษประชาชน กลุ่มคำพิพากษาซึ่งเป็นผลมาจากการปรับใช้มาตรา 44 มาตรา 47 และ 48 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ตลอดจนคำพิพากษาที่วินิจฉัยตามประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งอาศัยฐานอำนาจตามมาตราดังกล่าวในการออกและบังคับใช้เป็นกฎหมาย ต้องทำให้สิ้นผลไป

บทเรียนและข้อเสนอพอสังเขปที่กล่าวมา ทำให้เราเห็นว่าการเคลื่อนไหวเพื่อนำไปสู่การสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน มิใช่เรื่องง่ายที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะผลักดันอย่างโดดเดี่ยว หากจะต้องกระทำด้วยความละเอียดละออ และต้องอาศัยความพร้อมใจในวงกว้างเพื่อผลักดันข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมโดยเคารพจิตวิญญาณวีรชนประชาธิปไตยในอดีตเป็นหลักหมาย ทั้งนี้เป้าหมายทั้งหมดไม่มีอะไรมากหรือน้อยไปกว่าการคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนผู้สูญเสีย และพาบ้านเมืองเดินไปให้พ้นจากกับดักทางประวัติศาสตร์บาดแผลกันเสียที


รายการอ้างอิง

Kuk Cho. 2007. “Transitional Justice in Korea: Legally Coping with Past Wrongs after Democratization.” Pacific Rim Law & Policy Journal 16 (3): 579-611

Paul Hanley. 2014. Transitional Justice in South Korea: One Country’s Restless Search for Truth and Reconciliation, 9 U. Pa. E. Asia L. Rev. 139
(https://tlhr2014.com/archives/8235)






(https://twitter.com/lawcunotslave/status/1388510831332134919)

https://tlhr2014.com/archives/8235



Thesis ป.โท น่าอ่าน ศึกษาม.113 #รัฐประหาร แนะนำ การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ในประเทศไทยทุกกรณีของการทำรัฐประหาร โดยไม่คำนึงถึงความสำเร็จหรือไม่ของคณะรัฐประหาร ถือว่า ผู้กระทำความผิด เป็นกบฏ



Law Library, Chulalongkorn University
June 30, 2021
·
#แนะนำวิทยานิพนธ์ ​ ในรูปแบบ Full Text เข้าใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน หากนิสิตต้องการยืมตัวเล่ม สามารถใช้บริการ Book Delivery ของห้องสมุดเราได้เลยค่ะ ​ #CUIR#LawChulaLibraryBookDelivery

ชื่อเรื่อง : การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 : ศึกษากรณีการยึดอำนาจการปกครองของคณะรัฐประหาร โดย กนกรัตน์ ธรรมพนิชวัฒน์​
วิทยานิพนธ์ : นิติศาสตรมหาบัณฑิต ปีการศึกษา 2562​
บทคัดย่อ:​
​ ​ ​ ​ ​ ​ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 กรณีการยึดอำนาจการปกครองของคณะรัฐประหารเพื่อให้ทราบถึงปัญหาในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 กรณีการยึดอำนาจการปกครองของคณะรัฐประหารและผลกระทบที่เกิดขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 กรณีการยึดอำนาจการปกครองของคณะรัฐประหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 กรณีการยึดอำนาจการปกครองของคณะรัฐประหาร และข้อเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการเกิดปัญหาในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 กรณีการยึดอำนาจการปกครองของคณะรัฐประหารในอนาคตต่อไป การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ในประเทศไทยที่ผ่านมามีการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 เฉพาะกรณีการกบฏ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นกบฏที่ไม่ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายของผู้กระทำเท่านั้น แต่ยังไม่เคยมีการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ในกรณีการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นกบฏที่ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายของผู้กระทำสักครั้ง โดยศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีคณะรัฐประหารในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ทุกครั้ง การวางบรรทัดฐานคำพิพากษาเช่นนี้ของศาลทำให้คณะรัฐประหารไม่เคยถูกดำเนินคดีและได้รับโทษในความผิดฐานเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ส่งผลให้เกิดการรัฐประหารแทรกแซงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยตลอดมา ขณะที่การดำเนินคดีและลงโทษคณะรัฐประหารจะทำให้ระบบนิติรัฐกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สามารถเปลี่ยนผ่านการเมืองการปกครองในประเทศไทยให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างมั่นคง และช่วยยับยั้งผู้ที่คิดจะกระทำการรัฐประหารในอนาคตได้ ดังนั้น การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ในประเทศไทยสมควรบังคับใช้ในทุกกรณีโดยไม่คำนึงถึงความสำเร็จของการกระทำความผิด กล่าวคือ สมควรบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ในกรณีการยึดอำนาจการปกครองของคณะรัฐประหารเช่นกัน เพื่อให้ผู้กระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ถูกดำเนินคดีและได้รับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในทุกกรณี​

อ่านวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม:​
> (https://bit.ly/3yckcTK​)
ตรวจสอบสถานะตัวเล่ม:​
> (https://bit.ly/3dwi1Cu​)

#LawChulaLibrary
.....
อ่านวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม:​
(http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/69601/1/6185951634.pdf)

https://www.facebook.com/LawChulaLibrary/photos/a.484095151601375/4419999184677599/?type=3


วาสนา นาน่วม แจง 5 สาระสำคัญ 12 ข้อเท็จจริง และ ข้อสังเกตุ ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ฉบับ “บิ๊กทิน”


Wassana Nanuam
·
5 สาระสำคัญ
12 ข้อเท็จจริง และ ข้อสังเกตุ
ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
ฉบับ “บิ๊กทิน”
เพื่อจะแก้ไข พรบ.ฯกลาโหม 2551 ที่ออกในยุคหลังรัฐประหาร 2549
ในช่วงรัฐบาลของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี
.
#BangkokPost
สาระสำคัญ
-สกัดรัฐประหาร ให้ รมว.กห.เสนอ นายกฯเสนอ ครม. ออกคำสั่ง “พักราชการ” ทหารที่จะก่อการรัฐประหาร เพื่อระงับยับยั้งการรัฐประหาร
- เหตุที่ใช้ “พักราชการ” ไม่ “ปลด” เพราะทหารระดับนายพล เป็นตำแหน่งที่โปรดเกล้าฯ มา จึงแค่ “พักราชการ” เท่านั้น
- ไม่แตะ “บอร์ด7 เสือกลาโหม” ที่มีอำนาจโยกย้ายนายพล
- แก้ไขสัดส่วนสมาชิกสภากลาโหม จากเหล่าทัพใหม่ และ เพิ่มเติม สมาชิกฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 เป็น5 คน
ไม่เกี่ยวข้อง กับการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล
- “สภากลาโหม” ไม่มีหน้าที่ในการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล แต่ เป็นอำนาจของ“บอร์ด7 เสือกลาโหม ”เท่านั้น ตามเดิม

ข้อเท็จจจริง และ ข้อสังเกตุ
1. ทำตามนโยบาย ของพรรคเพื่อไทย และกลาโหม ปฏิรูปกองทัพ ปรับโครงสร้างกองทัพ ลดขนาดกองทัพ และลดจำนวนนายพล
2. ตั้ง บิ๊กอั๋น พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม เป็นประธาน ร่วมด้วย นายจำนงค์ ไชยมงคล ผช.รมต. ประจำ รมว.กลาโหม ฝ่ายกม.ของ นายสุทิน และ เจ้ากรมพระธรรมนูญ และ ผอ.สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็นคณะทำงาน
3. ที่ประชุมสภากลาโหม 19 เม.ย.2567 แค่ “รับทราบ”ว่า มีการแก้ไข พรบ.กลาโหม และมี คณะทำงานในการแก้ไขฯ พรบ.กลาโหม แต่ ยังไม่ได้ “อนุมัติ” หรือ “เห็นชอบ” เพราะยังร่างไม่เสร็จสมบูรณ์
4. การเริ่มต้น การแก้ไข ร่างพรบ.จัดระเบียบราชการกลาโหม 2551 ทำให้ นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ขอนายกฯ นำเข้าครม. แต่งตั้ง นายจำนงค์ ไชยมงคล ผช.รมต. ประจำ รมว.กลาโหม อีกคนหนึ่ง ที่เป็นฝ่ายกม.ของ นายสุทิน เมื่อต้น พย.2566 ไม่ใช่เพิ่งมาร่าง หรือคิด ตอนไปพบ นาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เมื่อ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา
5. เพิ่มระบบการคัดกรองนายพล ด้วยการการเพิ่ม คุณสมบัติของ ผู้ที่เหมาะสมเป็น นายพล จะต้องไม่มี คุณสมบัติต้องห้าม 3 ข้อ คือ1. ต้องไม่เคยเป็นผู้มีอิทธิพล ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ค้ามนุษย์ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 2.ต้องไม่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม ประกอบธุรกิจหรือกิจการ 3.ต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญาฯ เพื่อให้ ภาพลักษณ์ของนายพล เป็นที่ยอมรับของประชาชน ว่า ผ่านการพิจารณาคัดกรอง มาแล้ว นอกเหนือจากการลดจำนวนนายพล
6. การสกัดรัฐประหาร ที่ร่างแก้ไข พรบ.กห. ให้ รมว.กลาโหม เสนอนายกฯ เสนอครม. สั่ง“พักราชการ” ทหารที่จะก่อรัฐประหาร ก่อกบฏทันที โดยไม่ใช้การ“ปลด” เพราะการแต่งตั้ง หรือการปลดนายพล นายทหารระดับสูง จะต้องนำขึันทูลเกล้าฯ คณะกรรมการฯจึงไม่แตะต้องใน พระราชอำนาจนี้
7. นายกรัฐมนตรีมีอำนาจ ตามพรบ. บริหารราชการแผ่นดิน ในการโยกย้ายข้าราชการประจำได้อยู่แล้ว แต่หากระบุไว้ในพรบ.กลาโหม จะเป็นการระงับยับยั้ง การรัฐประหาร ได้โดยตรงมากกว่า ก่อนที่ทหารจะฉีกรัฐธรรมนูญ แม้ในความเป็นจริง หากทหารจะรัฐประหาร ก็จะฉีกกฏหมายทุกฉบับได้ก็ตาม แต่การแก้กม.นี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ ที่ประชาชนส่งสัญญาณถึงทหาร ว่าไม่ต้องการให้มีการรัฐประหาร เพราะ กม.นี้ จะต้องผ่านสภาฯ ออกเป็นพรบ. (ที่ต้องรอดูว่า สส.พรรคร่วมรัฐบาล จะโหวตให้ผ่านหรือไม่ โดยเฉพาะพรรคสายอนุรักษ์นิยม เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ และ พรรคพลังประชารัฐ)
8. การแทรกแซงอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายทหาร จากฝ่ายการเมือง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ร่างแก้ไข พรบ.กลาโหม นี้ ยังไม่มีข้อมูลว่า จะ ”ปรับแก้ใดๆ “ คณะกรรมการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพลของกลาโหม หรือ บอร์ด7 เสือกลาโหม หรือไม่ อย่างไร (บอร์ดนีั ประกอบด้วย รมว.กลาโหม รมช.กลาโหม ปลัดกลาโหม ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ.) ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล
9. “สภากลาโหม” ไม่ได้มีอำนาจ ในการแต่งตั้งโยกย้ายนายพลแต่อย่างใด สมาชิกสภากลาโหม มี นายทหารระดับ5 เสือของ แต่ละเหล่าทัพ ตั้งแต่ สมุหราชองครักษ์ สำนักปลัดกลาโหม บก.ทัพไทย ทบ. ทร.ทอ. ( รมว.กลาโหม รมช.กลาโหม จเรทหารทั่วไป ปลัดกระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม สมุหราชองครักษ์ รองสมุหราชองครักษ์ เสนาธิการกรมราชองครักษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เสนาธิการทหาร ผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือเสนาธิการทหารเรือ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เสนาธิการทหารอากาศ รวม 24 คน และ มีสมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ อีก3 คน และยังมี ผอ.สนผ. เป็นเลขาฯสภากลาโหม )
10. ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรบ กลาโหม ให้มีการเพิ่ม สมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 คน เป็น5 คน และให้ รมว.กลาโหม เสนอชื่อให้ ครม. แต่งตั้ง ส่งมา ทดแทน จากเดิมที่ รมว.กลาโหม แต่งตั้ง และเสนอให้สภากลาโหม เห็นชอบ จึงทำให้ถูกจับตามองว่า จะมีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ ของสมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือไม่ ในเมื่อ ครม. แต่งตั้งมา
11. มีการแก้ไขสัดส่วน และจำนวนสมาชิกสภากลาโหม ลง โดยตัด รองปลัดกลาโหม และ ผช.ผบ.เหล่าทัพ ออกจาก สมาชิกสภากลาโหม แล้วมาเพิ่ม สมาชิกสภากลาโหม ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 คน เป็น 5 คน จากเดิมที่เป็น ทหารเกษียณ ( ที่น่าจับตาคือ อาจแต่งตั้ง บุคคลที่ไม่ใช่ทหาร มาได้ เพราะตามระเบียบ ระบุว่า ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ ในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม)
12. แม้จะมีการแก้ไขสัดส่วน สมาชิกสภากลาโหม แต่จะไม่มีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ของ สภากลาโหม ให้มาเกี่ยวกับการแต่งตั้งโยกย้ายนายพล แต่อย่างใด อำนาจในการ แต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพลยังคงเป็นอำนาจ บอร์ด7 เสือกลาโหม ต่อไปตามเดิม ไม่ใช่ “สภากลาโหม”
(null) https://www.facebook.com/share/p/jfxYJhkmr2eXARJs/?mibextid=WC7FNe